ทรัพยากรธรรมชาติ

 

   1. ทรัพยากรดิน

              ลักษณะดินของจังหวัดเพชรบุรี ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวและดินเหนียวปนทรายในพื้นที่บริเวณที่ราบตอนกลางของจังหวัด ดินเหนียวถึงดินร่วนปนกรวดและเศษหินในบริเวณที่ราบสูงทางด้านตะวันตก และเป็นลักษณะดินร่วนเหนียวในบริเวณพื้นที่ราบชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันออก แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้สภาพดินส่วนใหญ่จะมีความอุดมสมบูรณ์แต่บางพื้นที่ที่ดินมีปัญหาคือ

    § ดินตื้น ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ร้อยละ 15 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ตอนล่างของอำเภอท่ายาง และบางส่วนของอำเภอเขาย้อย

    § ดินที่มีสภาพเป็นกรด ครอบคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 3  ของพื้นที่ทั้งจังหวัดอยู่ในเขตตอนบนของอำเภอชะอำ และตอนบนของอำเภอบ้านลาด

    § ดินเค็ม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งจังหวัดส่วนใหญ่อยู่ชายฝั่งทะเลเขตอำเภอบ้านแหลม และบางส่วนของอำเภอชะอำ

   2. ทรัพยากรน้ำ

มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ประกอบด้วย

              l แม่น้ำเพชรบุรี ต้นน้ำจากเทือกเขาสูงชันทางด้านตะวันตกของจังหวัด ไหลผ่านอำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด อำเภอเมืองฯ แล้วลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอบ้านแหลม มีความยาว 210 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญของจังหวัดเพชรบุรีตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน

              l แม่น้ำบางกลอย ต้นน้ำจากเทือกเขาอันเมียในเขตอำเภอหนองหญ้าปล้อง ไหลมาบรรจบแม่น้ำเพชรบุรีบริเวณอำเภอท่ายาง  มีความยาว 45 กิโลเมตร

              l ห้วยแม่ประโคน  ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาบริเวณเขตติดต่อระหว่างอำเภอหนองหญ้าปล้องกับอำเภอปากท่อจังหวัดราชบุรี   และมีสาขาสำคัญ ได้แก่  ห้วยมะเร็ว ห้วยเสือกัดช้าง ห้วยสมุลแว้งและไหลมาบรรจบแม่น้ำเพชรบุรีในบริเวณเขตอำเภอท่ายาง มีความยาว 56 กิโลเมตร

              l ห้วยผาก  ต้นน้ำจากภูเขาอ่างแก้วและภูเขาน้ำหยดในบริเวณเขตอำเภอแก่งกระจาน ไหลมารวมกับแม่น้ำเพชรบุรีที่บริเวณใต้เขื่อนแก่งกระจานในเขตอำเภอแก่งกระจาน มีความยาว 30 กิโลเมตร

              l ห้วยแม่ประจันต์  ต้นน้ำจากเทือกเขาในเขตจังหวัดราชบุรี ไหลผ่านอำเภอหนองหญ้าปล้อง และไหลมาบรรจบแม่น้ำเพชรบุรีบริเวณเขื่อนเพชรบุรีในเขตอำเภอท่ายาง

              l แม่น้ำบางตะบูน  เป็นสาขาของแม่น้ำเพชรบุรีซึ่งไหลย้อนขึ้นไปทางเหนือผ่านอำเภอเขาย้อย อำเภอ      บ้านแหลม ออกสู่อ่าวไทยที่ปากอ่าวบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม  มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร

    3. ทรัพยากรป่าไม้   (ที่มา : สำนักงานป่าไม้จังหวัดเพชรบุรี)

              จังหวัดเพชรบุรี มีพื้นที่ป่าไม้ ตาม พ...ป่าสงวนแห่งชาติ พ.. 2507 จำนวน 2,397,600 ไร่ คิดเป็น       ร้อยละ 61.62 ของพื้นที่ทั้งหมด (3,890,711 ไร่)

 

การจำแนกประเภทป่าไม้

 

การจำแนกประเภทป่าไม้ตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี

หน่วย : ไร่

ป่าสงวนแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507*

2,397,600

ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี

35,118

อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

1,548,750

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขากระปุก

4,850

วนอุทยานเขานางพันธุรัต

1,562

วนอุทยานชะอำ

416

 

*พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติบางส่วน ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

การใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้

 

ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน

ตารางกิโลเมตร

ไร่

รวมพื้นที่จังหวัด

6,220.8

3,888,000.0

ป่าดงดิบ

838.2

523,875.0

ป่าเบญจพรรณ

2,439.7

1,524,812.5

ป่าชายหาด

0.3

187.5

ป่าไผ่

0.9

562.5

ป่าชายเลน

57.8

36,125.0

         รวมพื้นที่ป่าธรรมชาติ

3,336.9

2,085,562.5

พื้นที่สวนป่า

25.7

16,062.5

พื้นที่ป่าฟื้นฟูตามธรรมชาติ

27.4

17,125.0

 รวมพื้นที่ป่าไม้

3,390.0

2,118,750.0

พื้นที่ไม่ใช่ป่า

2,830.8

1,769,250.0

เปอร์เซ็นต์พื้นที่ป่าไม้

54.49%

 

ที่มา : สถิติการป่าไม้ของประเทศไทย พ.ศ. 2545 กองแผนงานและสารสนเทศ กรมป่าไม้

 

   4. สัตว์น้ำ

              จังหวัดเพชรบุรีมีแหล่งน้ำจืดทั่วไป โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำแก่งกระจานที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดที่สำคัญ  นอกจากนั้นยังมีแนวชายฝั่งทะเลยาวถึง  82  กิโลเมตร จึงเป็นแหล่งที่สามารถทำการประมงน้ำกร่อย และประมงทะเลได้  ซึ่งเป็นอาชีพหลักของราษฎรที่มีภูมิลำเนาติดชายฝั่งทะเล ได้แก่ อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ และอำเภอเขาย้อย

 

    5. ทรัพยากรแร่ธาตุ   (ที่มา : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบุรี)

              ณ เดือนมิถุนายน 2548  จังหวัดเพชรบุรีมีเหมืองแร่สัมปทานทั้งหมด 14 แปลง และเปิดทำการ 9 แปลง  หยุดทำการ 5 แปลง รวมทั้งมีเหมืองแร่ที่ยื่นคำขอประทานบัตรที่อยู่ระหว่างการพิจารณา 18 แปลง มีโรงแต่งแร่ 1 ราย และร้านรับซื้อแร่ 1 ราย ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 มีรายได้จากค่าภาคหลวงแร่และ ค่าธรรมเนียมรวม 2,233,040 บาท

สำหรับแร่ธาตุที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่

l  แร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง พื้นที่พบได้แก่ บริเวณเขาอีบิด ตำบลหนองชุมพลเหนือ อำเภอเขาย้อย และ  ตำบลนายาง  อำเภอชะอำ

l ดินขาว   พื้นที่พบ ตำบลพุสวรรค์ อำเภอแก่งกระจาน

l หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์  พื้นที่พบ ตำบลชะอำ  อำเภอชะอำ

l ควอตซ์   พื้นที่พบ ตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง

l หินแกรนิต   พื้นที่พบ ตำบลห้วยข้อง อำเภอบ้านลาด

l ดีบุก   พื้นที่พบ ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอหนองหญ้าปล้อง

l หินอ่อน  พื้นที่พบ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง