สภาพเศรษฐกิจทางการเกษตร

 

              ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรของจังหวัด  ซึ่งแสดงให้เห็นมูลค่าเพิ่มของการผลิตสินค้าเกษตรทุกชนิดในรอบปีปฏิทินในปี 2545 จังหวัดเพชรบุรี มีผลิตภัณฑ์จังหวัด ตามราคาประจำปี สาขาเกษตรกรรมคิดเป็นมูลค่า 4,253 ล้านบาท  ประกอบด้วยการผลิตในสาขา  การล่าสัตว์และการป่าไม้  มูลค่า 3,973 ล้านบาท  ในสาขาย่อยประมง  ตามลำดับ มูลค่า 280 ล้านบาท  โดยมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัด 31,250 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อคน 70,067 บาท

 

รายได้และหนี้สินของครัวเรือนเกษตรของจังหวัดเพชรบุรี

          ระดับรายได้ของเกษตรกรจังหวัดเพชรบุรี  จากข้อมูลสำมะโนการเกษตร ปี พ.. 2546 พบว่าเกษตรกรร้อยละ 26.4 มีรายได้ของครัวเรือนจากการทำการเกษตรอย่างเดียว ขณะที่ผู้ที่มีรายได้จากการทำการเกษตรและจากแหล่งอื่นด้วยมีถึงร้อยละ  73.6  โดยมีรายได้จากผลผลิตเกษตรอยู่ในช่วง  20,001–50,000 บาท  มากที่สุด (ร้อยละ 36.0)  รองลงมาคือรายได้ 10,001–20000 บาท  (ร้อยละ  21.5) และ 50,001–100,000 บาท (ร้อยละ 18.0) และพบว่าเป็นเกษตรกรที่มีรายได้มากกว่า 100,000 บาท เพียงร้อยละ 5.8

              สำหรับหนี้สินของเกษตรกร พบว่าร้อยละ 52.2 มีหนี้สินโดยเป็นผู้ที่มีหนี้สินเพื่อการเกษตร ร้อยละ 44.7 มีจำนวนเงินที่เป็นหนี้สินเพื่อการเกษตรทั้งสิ้น 1,742 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 91,936 บาท/ครัวเรือน

 

ผลิตภัณฑ์จังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามสาขาการผลิต พ.ศ. 2547

 

สาขาการผลิต

มูลค่า  (ล้านบาท) p

ร้อยละ

ภาคเกษตร

8,739

22.07

-เกษตรกรรม  การล่าสัตว์  และการป่าไม้

8,346

21.08

-การประมง

393

0.99

ภาคนอกเกษตร

30,850

34.94

รวม

39,589

77.93

ผลิตภัณฑ์จังหวัด

39,589

 

มูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อคน  (บาท)

89,915

 

   

รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี คิดเป็นลำดับที่ 3 ของภาคตะวันตก และลำดับที่ 17 ของประเทศ

              ที่มา  :  สำนักงานสถิติจังหวัดเพชรบุรี                  

        P  :  ตัวเลขเบื้องต้นชั่วคราว

 

   สาขาการผลิตที่สำคัญ

       l การเกษตรกรรม  (ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี)

 

              ในปีการเพาะปลูก 2546 จังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตรทั้งสิ้น 876,095.75 ไร่ คิดเป็น      ร้อยละ 22.52 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด(พื้นที่ทั้งจังหวัด 3,890,711 ไร่) โดยมีพื้นที่ทำนามากที่สุด คือ 499,645.75 ไร่ (ร้อยละ 57)ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งจังหวัด รองลงมาเป็นพื้นที่ทำไร่  141,008.75 ไร่(ร้อยละ 16) พื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น 167,971 ไร่ (ร้อยละ 19)และพื้นที่ทำการเกษตรอื่น ๆ  67,470.25  ไร่  (ร้อยละ 8)

 

อื่น ๆ 8%

 

ทำไร่  16%

 
กล่องข้อความ: กราฟแสดงพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตร

 



ไม้ผลไม้ยืนต้น 19%

 

ทำนา  57%

 
         

การปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในจังหวัดเพชรบุรี แบ่งตามลักษณะและฤดูกาลปลูกพืชเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ข้าว พืชไร่  พืชผัก  และไม้ผลไม้ยืนต้น  มีดังนี้

 

ชนิดพืช

พื้นที่ปลูก

(ไร่)

พื้นที่เก็บเกี่ยว

(ไร่)

พื้นที่เสียหาย

(ไร่)

ผลผลิตรวม

(ตัน)

มูลค่ารวม

(ล้านบาท)

ข้าว

 

 

 

 

 

ข้าวนาปี

413,077

249,809

163,268

155,384

707

ข้าวนาปรัง

175,527

175,527

-

127,004

533

พืชไร่

 

 

 

 

 

สับปะรด

134,755

55,711

3,134

360,031

1,620

อ้อยโรงงาน

56,147

42,248

1,015

432,553

199

พืชไร่รวม

219,244

109,473

6,333

807,962

-

พืชผัก

 

 

 

 

 

พืชผักรวม

84,555

57,347

6,647

120,773

-

 

หมายเหตุ  1. ข้อมูลข้าวนาปี  พืชไร่  พืชผัก  ตัดยอดข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2546 –

    เมษายน  2547

2. ข้อมูลข้าวนาปรัง ตัดยอดข้อมูล มกราคม – เมษายน 2546

  เก็บเกี่ยว พฤษภาคม – สิงหาคม 2546

                     3. มูลค่ารวม  เป็นข้อมูลจากการประมาณการ

 

ชนิดพืช

พื้นที่ปลูก

ผลผลิตรวม

(ตัน)

มูลค่ารวม

(ล้านบาท)

พื้นที่ปลูกรวม

(ไร่)

พื้นที่ให้ผล

(ไร่)

พื้นที่ไม่ให้ผล

(ไร่)

ไม้ผลไม้ยืนต้น

 

 

 

 

 

มะนาว

42,394

34,378

8,016

43,970.14

2,006

มะม่วง

36,950

39,054

2,104

82,085.70

525

กล้วยน้ำว้า

25,543

19,434

6,109

283,210.45

214

ไม้ผลไม้ยืนต้นรวม

158,690

140,820

17,870

385,172.24

4,580

 

หมายเหตุ   1.  ข้อมูลไม้ผลไม้ยืนต้น  ตัดยอดข้อมูล  มกราคม – ธันวาคม 2546

                 2.  มูลค่ารวม เป็นมูลค่าจากการประมาณการ

 

    l การประมง   (ที่มา : สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบุรี)

จังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่ติดต่อกับชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทยตั้งแต่อำเภอบ้านแหลมจนถึงอำเภอชะอำ รวมระยะทางประมาณ 82 กิโลเมตร ทำให้อาชีพการประมงเป็นอาชีพที่มีความสำคัญและสร้างรายได้ให้กับจังหวัดสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ชายฝั่งอำเภอบ้านแหลมเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงหอยแครงที่สำคัญของประเทศ

ปริมาณสัตว์น้ำ ทั้งจากการทำประมงในทะเลและประมงน้ำจืด ในปี 2546 - 2547 มีผลผลิตรวมทั้งสิ้น 19,950.03  ตัน มีมูลค่า  808,471,355 บาท แบ่งเป็น

 

ผลผลิตสัตว์น้ำทะเล

   1.  จากการประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

              - กุ้งทะเล  ผู้ประกอบการ 635 ราย ผลผลิต 1,832 ตัน (คิดจากผู้มาขอใบอนุญาตจับกุ้ง)

                 - หอยแครง  ผู้ประกอบการ 189 ราย ผลผลิต 5,848 ตัน

                       -  หอยแมลงภู่  ผู้ประกอบการ 167 ราย ผลผลิต 2,753 ตัน

    2.  จากการประกอบการด้วยเครื่องมือประมงทะเล

              -  จำนวนเรือประมงที่ใช้ในการประกอบการ  จำนวน 1,125 ลำ ผลผลิต  6,320.5 ตัน

    3.  จำนวนครัวเรือนประมง 1,650 ครัวเรือน

              -  ท่าเทียบเรือ                                                11      แห่ง

              -  โรงงานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เยือกแข็ง                  1      แห่ง

              -  โรงงานน้ำแข็ง                                                5      แห่ง

              -  โรงงานน้ำปลา                                               2      แห่ง

              -  สถานแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้น                            10      แห่ง

  

ผลผลิตสัตว์น้ำจืด

   ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงและจากการทำการประมงในแหล่งน้ำ ผลผลิตรวม  3,197.53   ตัน

              -  ผลผลิตสัตว์น้ำจืดจากการเพาะเลี้ยง                                        2,933.35   ตัน

              -  ผลผลิตจากแหล่งน้ำ                                                            264.18    ตัน

 

   l การปศุสัตว์  (ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี )

ผลผลิตทางด้านปศุสัตว์ของจังหวัดเพชรบุรี มีมูลค่าประมาณ 1,982 ล้านบาท การเลี้ยงปศุสัตว์ที่เป็นรายได้สำคัญ คือ การเลี้ยงโคนม โคเนื้อ สุกร และสัตว์ปีก โดยเป็นการเลี้ยงทั้งในรูปแบบรายย่อยและในรูปแบบฟาร์มพื้นที่เลี้ยงสัตว์ที่สำคัญ ได้แก่ 1) โคนม มีการเลี้ยงมากในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชะอำ แก่งกระจาน เมืองฯ ท่ายาง บ้านแหลม และบ้านลาด 2) โคเนื้อ มีการเลี้ยงทั่วไปในทุกอำเภอ  3) สุกร มีการเลี้ยงทุกอำเภอ  4) สัตว์ปีก มีเกษตรกรเลี้ยงในทุกอำเภอ ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ไก่เนื้อ และไก่ไข่ ซึ่งมีฟาร์มไก่เนื้อมาตรฐานเพื่อการส่งออก จำนวน 120 ฟาร์ม ส่งเนื้อไก่ไปจำหน่ายต่างประเทศ ประมาณปีละ 9–10 ล้านตัว มูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท

  

มูลค่าปศุสัตว์และผลผลิตปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี (ข้อมูล ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2548)

 

ชนิดสัตว์/ผลผลิต

เกษตรกร

(ราย)

จำนวนสัตว์

(ตัว)

มูลค่าปศุสัตว์

(บาท)

มูลค่าผลผลิตในรอบปี(บาท)

รวมมูลค่าทั้งสิ้น

(บาท)

โคนมและน้ำนมดิบ

551

9,709

210,000,000

150,000,000

360,000,000

โคเนื้อ-โคพื้นเมือง

10,550

10,550

1,150,000,000

560,000,000

1,810,000,000

สุกร

1,285

85,098

72,200,000

497,100,000

551,300,000

ไก่พื้นเมือง

15,831

641,227

29,800,000

89,500,000

119,300,000

ไก่ไข่

121

450,126

32,700,000

136,000,000

168,700,000

ไก่เนื้อ

94

978,584

-

484,000,000

484,000,000

เป็ดเนื้อ,เป็ดเทศและเป็ดไข่

522

47,892

23,000,000

76,000,000

99,000,000

กระบือ

46

441

4,270,000

650,000

4,920,000

แพะ,แกะ

256

7,333

18,300,000

6,910,000

25,210,000

รวม

29,256

2,230,960

1,540,270,000

1,982,160,000

3,622,430,000

 

ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี

 

   l การอุตสาหกรรม   (ที่มา : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบุรี)

จังหวัดเพชรบุรีอยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุนเขตที่ 3 เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพเหมาะที่จะเป็นศูนย์กลาง การพัฒนาอุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันตก  เนื่องจากมีความพร้อมทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านวัตถุดิบ แรงงาน และทำเลที่ตั้ง

ข้อมูล ณ วันที่ 27 เดือนมิถุนายน 2548  จังหวัดเพชรบุรีมีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 648 แห่ง จำแนกตามจำพวกโรงงาน  ดังนี้

- ในเขตการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย                       จำนวน    0 โรงงาน 

- โรงงานจำพวกที่ 1 (นอกเขตฯ)                                       จำนวน 184 โรงงาน   

- โรงงานจำพวกที่ 2 (นอกเขตฯ)                                       จำนวน 100 โรงงาน    

- โรงงานจำพวกที่ 3 (นอกเขตฯ)                                       จำนวน 364 โรงงาน    

  เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น  25,908.044 ล้านบาท  มีคนงาน 18,436 คน  เป็นชาย 8,837 คน  หญิง 9,599 คน

      จำนวนโรงงานจำแนกรายหมวดอุตสาหกรรมที่สำคัญ

ลำดับที่

กลุ่มอุตสาหกรรม

จำนวน  (โรงงาน)

1

ผลิตภัณฑ์จากพืช

187

2

อุตสาหกรรมอาหาร

87

3

อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม

1

4

สิ่งทอ

12

5

อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายยกเว้นรองเท้า

3

6

ผลิตหนังสัตว์และผลิตภัณฑ์จากหนังสัตว์

1

7

แปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้

37

8

เครื่องเรือนหรือเครื่องตบแต่งในอาคารจากไม้ แก้ว ยาง หรือโลหะอื่น ๆ

8

9

ผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ

6

10

การพิมพ์ การเย็บเล่ม ทำปกหรือทำแม่พิมพ์

5

11

เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี

12

12

ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม

5

13

ยางและผลิตภัณฑ์ยาง

3

14

ผลิตภัณฑ์พลาสติก

18

15

ผลิตภัณฑ์อโลหะ

46

16

ผลิตโลหะขั้นมูลฐาน

4

17

ผลิตภัณฑ์โลหะ

37

18

ผลิตเครื่องจักรและเครื่องกล

33

19

ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์

9

20

ผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์ รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์

77

21

การผลิตอื่น ๆ

55

 

อื่นๆ

ปริมาณน้ำเสียสูงสุด (MAX FLOW) รวมทั้งสิ้น                                                   2,657 ลบ.ม./วัน

ปริมาณน้ำเสียปัจจุบัน (EXIST FLOW) รวมทั้งสิ้น                                               1,605 ลบ.ม./วัน

ปริมาณน้ำทิ้งที่ระบายออก (DISCHARGE) รวมทั้งสิ้น                                          1,004 ลบ.ม./วัน

ประมาณการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากโรงงานฯ ประเภทไม่อันตราย (ฉ.1)                  40,227.14 ตัน/ปี

วัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีการอนุญาตนำออกนอกโรงงาน ปี 2547 ประเภทอันตราย (ฉ.6)      4,914.78 ตัน/ปี

                                           ประเภทไม่อันตราย (ฉ.1)  431.00 ตัน

 

l การพาณิชยกรรม  (ที่มา : สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดเพชรบุรี)

การประกอบธุรกิจการค้าและบริการทั้งประเภทบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลของจังหวัดเพชรบุรี ยอดยกมาจากปี 2546  มีจำนวนผู้จดทะเบียนประกอบธุรกิจการค้าที่คงอยู่ จำนวน 6,290 ราย แบ่งตามประเภทการจดทะเบียน  ได้ดังนี้

- จดทะเบียนนิติบุคคลประเภทบริษัท      จำนวน   515  ราย

- จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด                       จำนวน   803  ราย

- จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล          จำนวน      6   ราย  

- จดทะเบียนพาณิชย์                                   จำนวน 4,966  ราย  

สำหรับปี 2547  ตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม  2547 มีสถิติการจดทะเบียน ดังนี้

- จดทะเบียนนิติบุคคลประเภทบริษัท                จำนวน    25   ราย  

- จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด                       จำนวน    15   ราย  

- จดทะเบียนพาณิชย์                                   จำนวน  197   ราย  

l การสหกรณ์   (ที่มา : สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี)

ผลดำเนินงานด้านการสหกรณ์ ( ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม 2548 ) มีสหกรณ์รวมทั้งหมด 6 ประเภท จำนวน  74  สหกรณ์   จำนวนสมาชิก  99,038 คน  เงินทุนดำเนินการ 5,154967,387 บาท  ทุนเรือนหุ้นรวม  3,639477,673 บาท  ผลการดำเนินงานมรกำไรสุทธิรวม  393,405,405 บาท แยกตามประเภทดังนี้  

-  สหกรณ์การเกษตร  27 แห่ง สมาชิก 39,103 คน   ทุนดำเนินการ     649,336,184  บาท

-  สหกรณ์ร้านค้า        1 แห่ง สมาชิก      189 คน   ทุนดำเนินการ         3,817,984   บาท

-  สหกรณ์บริการ        2 แห่ง สมาชิก      285 คน   ทุนดำเนินการ         1,695,394   บาท

-  สหกรณ์ออมทรัพย์ 40 แห่ง สมาชิก  55,171 คน  ทุนดำเนินการ   4,409,721,710   บาท

-  สหกรณ์ประมง        2 แห่ง สมาชิก      527 คน   ทุนดำเนินการ       32,212,500   บาท

-  สหกรณ์นิคม          2 แห่ง สมาชิก   3,763 คน   ทุนดำเนินการ       58,193,609   บาท

l การเงินการคลัง

1) การเงิน

จังหวัดเพชรบุรีมีธนาคารต่าง ๆ  รวมทั้งสาขาย่อย  จำนวน 45 แห่ง  ดังนี้

     1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด               5 แห่ง           7. ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด      4 แห่ง

     2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด               4 แห่ง           8. ธนาคารเอเชีย                     1 แห่ง

     3. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด             4 แห่ง           9. ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด     1 แห่ง

     4. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด        6 แห่ง           10. ธนาคาร  ธ.ก.ส.                     6 แห่ง

     5. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด         4 แห่ง           11. ธนาคารออมสิน                7 แห่ง

     6. ธนาคารทหารไทย จำกัด            2 แห่ง           12. ธนาคารอาคารสงเคราะห์     1 แห่ง

2) การคลัง

 การจัดเก็บภาษีสรรพากร   (ที่มา : สำนักงานสรรพากรพื้นที่เพชรบุรี)

ในปีงบประมาณ 2547 (ณ ธันวาคม 2547) สามารถจัดเก็บภาษีได้จำนวน 738.408 ล้านบาท  ดังนี้

ข้อมูลการจัดเก็บภาษีจำแนกตามประเภท

ประเภทภาษี

การจัดเก็บ (ล้านบาท)

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

272.354

2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

120.272

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

256.726

4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

52.568

5. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

0.000

6. ภาษีการค้า

0.011

7. อากรแสตมป์

35.419

8. รายได้อื่น

1.058

รวม

738.408

 

การเก็บภาษีสรรพสามิต   (ที่มา : สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่เพชรบุรี)

ในปีงบประมาณ 2547(ตุลาคม 2546–กันยายน 2547) จัดเก็บภาษีได้ จำนวน 246.39

ล้านบาท และมีรายได้จากค่าปรับเปรียบเทียบคดี จำนวน  0.52 ล้านบาท

ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บได้เรียงลำดับมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้

-        ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน                           232,150,579.30      บาท

-        ภาษีสนามกอล์ฟ                                                 9,981,922.04       บาท

-        ภาษีสุรา (แสตมป์สุรา)                                         1,410,427.51       บาท

-        รายได้เบ็ดเตล็ด (ใบอนุญาต)                                 1,184,617.24       บาท

-        ภาษีเครื่องดื่ม                                                    1,034,171.00       บาท

-        ภาษีสถานบริการอาบน้ำหรืออบตัว และนวด                 575,300.31       บาท

-        ภาษีรถยนต์                                                          50,956.10        บาท

-        ภาษีเครื่องปรับอากาศ                                              6,450.00         บาท

              รวม                     246,394,423.50       บาท

 

                     ในปีงบประมาณ 2548 (ตุลาคม 2547–พฤษภาคม 2548) จัดเก็บภาษีได้

                   จำนวน 12.36 ล้านบาท และมีรายได้จากค่าปรับเปรียบเทียบคดี จำนวน  0.17 ล้านบาท

           ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บได้เรียงลำดับมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้

-        ภาษีสนามกอล์ฟ                                              7,989,332.31          บาท

-        ภาษีสุรา (แสตมป์สุรา)                                      1,647,997.19          บาท

-        รายได้เบ็ดเตล็ด (ใบอนุญาต)                                 950,140.00         บาท

-        ภาษีสถานบริการอาบน้ำหรืออบตัว และนวด               832,212.73         บาท

-        ภาษีเครื่องดื่ม                                                    773,437.87         บาท

-        ภาษีเครื่องปรับอากาศ                                          158,264.17         บาท

-        ภาษีรถยนต์                                                        10,500.00           บาท

-        ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน                                    216.98           บาท

                   รวม   12,362,101.25       บาท