สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

 

              จากสถิติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปี 2546 จังหวัดเพชรบุรีมีมูลค่ารวมผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) ตามราคาประจำปี  34,761 ล้านบาท มูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อหัวต่อปี เท่ากับ 78,711 บาท เป็นอันดับที่ 21 ของประเทศ  

1. ภาคเกษตรกรรม                        5,263  ล้านบาท (ร้อยละ 15.14) 

2. นอกภาคเกษตรกรรม                  29,498  ล้านบาท (ร้อยละ 84.86)

 

l การปศุสัตว์ 

              ผลผลิตทางด้านปศุสัตว์ของจังหวัดเพชรบุรี  มีมูลค่าประมาณ  1,982  ล้านบาท  การเลี้ยงปศุสัตว์ที่เป็นรายได้สำคัญ คือ การเลี้ยงโคนม โคเนื้อ สุกร และสัตว์ปีก  โดยเป็นการเลี้ยงทั้งในรูปแบบรายย่อยและในรูปแบบฟาร์มพื้นที่เลี้ยงสัตว์ที่สำคัญ ได้แก่

1) โคนม มีการเลี้ยงมากในพื้นที่  6  อำเภอ ได้แก่  อำเภอชะอำ  อำเภอแก่งกระจาน  อำเภอเมืองเพชรบุรี  อำเภอท่ายาง  อำเภอบ้านแหลม  และอำเภอบ้านลาด 

2) โคเนื้อ  มีการเลี้ยงทั่วไปในทุกอำเภอ 

3)  สุกร  มีการเลี้ยงทุกอำเภอ 

4)  สัตว์ปีก  มีเกษตรกรเลี้ยงในทุกอำเภอ ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ไก่เนื้อ และไก่ไข่ ซึ่งมีฟาร์มไก่เนื้อมาตรฐานเพื่อการส่งออก  จำนวน  120  ฟาร์ม  ส่งเนื้อไก่ไปจำหน่ายต่างประเทศ ประมาณปีละ  9–10 ล้านตัว  มูลค่าประมาณ  500  ล้านบาท  (ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี )

 

มูลค่าปศุสัตว์และผลผลิตปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี (ข้อมูล ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2548)

 

ชนิดสัตว์/ผลผลิต

เกษตรกร

(ราย)

จำนวนสัตว์

(ตัว)

มูลค่าปศุสัตว์

(บาท)

มูลค่าผลผลิตในรอบปี(บาท)

รวมมูลค่าทั้งสิ้น

(บาท)

โคนมและน้ำนมดิบ

551

9,709

210,000,000

150,000,000

360,000,000

โคเนื้อ-โคพื้นเมือง

10,550

10,550

1,150,000,000

560,000,000

1,810,000,000

สุกร

1,285

85,098

72,200,000

497,100,000

551,300,000

ไก่พื้นเมือง

15,831

641,227

29,800,000

89,500,000

119,300,000

ไก่ไข่

121

450,126

32,700,000

136,000,000

168,700,000

ไก่เนื้อ

94

978,584

-

484,000,000

484,000,000

เป็ดเนื้อ,เป็ดเทศ และเป็ดไข่

522

47,892

23,000,000

76,000,000

99,000,000

กระบือ

46

441

4,270,000

650,000

4,920,000

แพะ,แกะ

256

7,333

18,300,000

6,910,000

25,210,000

รวม

29,256

2,230,960

1,540,270,000

1,982,160,000

3,622,430,000

 

ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี

l การประมง  

              จังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่ติดต่อกับชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทยตั้งแต่อำเภอบ้านแหลมจนถึงอำเภอชะอำ รวมระยะทางประมาณ  82  กิโลเมตร ทำให้อาชีพการประมงเป็นอาชีพที่มีความสำคัญและสร้างรายได้ให้กับจังหวัดสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ชายฝั่งอำเภอบ้านแหลมเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงหอยแครงที่สำคัญของประเทศ

ปริมาณสัตว์น้ำ ทั้งจากการทำประมงในทะเลและประมงน้ำจืด ในปี  2546 - 2547  มีผลผลิตรวมทั้งสิ้น  19,950.03  ตัน มีมูลค่า  808,471,355 บาท  แบ่งเป็น

 

    ผลผลิตสัตว์น้ำทะเล

              1. จากการประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

                   - กุ้งทะเล  ผู้ประกอบการ 635 ราย ผลผลิต 1,832 ตัน (คิดจากผู้มาขอใบอนุญาตจับกุ้ง)

                        - หอยแครง  ผู้ประกอบการ 189 ราย ผลผลิต 5,848 ตัน

                                -  หอยแมลงภู่  ผู้ประกอบการ 167 ราย ผลผลิต 2,753 ตัน

              2. จากการประกอบการด้วยเครื่องมือประมงทะเล

                   -  จำนวนเรือประมงที่ใช้ในการประกอบการ  จำนวน 1,125 ลำ ผลผลิต  6,320.5 ตัน

              3.  จำนวนครัวเรือนประมง 1,650 ครัวเรือน

                   -  ท่าเทียบเรือ                                       11      แห่ง

                   -  โรงงานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เยือกแข็ง       1       แห่ง

                   -  โรงงานน้ำแข็ง                                    5        แห่ง

                   -  โรงงานน้ำปลา                                    2       แห่ง

                   -  สถานแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้น                   10      แห่ง

 

ผลผลิตสัตว์น้ำจืด

              ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงและจากการทำการประมงในแหล่งน้ำ ผลผลิตรวม 3,197.53 ตัน

                   -  ผลผลิตสัตว์น้ำจืดจากการเพาะเลี้ยง    2,933.35   ตัน

                   -  ผลผลิตจากแหล่งน้ำ                          264.18   ตัน

 

(ที่มา : สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบุรี)