ขจัดความยากจนในทุกระดับ

 

 

 

พัฒนาองค์กรเกษตรกรและเครือข่าย  (กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร)

 

 

วัตถุประสงค์

¨     เพื่อรับทราบการสนับสนุนของภาครัฐและนโยบายการพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ประสานความต้องการ รวบรวมปัญหาของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และกำหนดแผนงานร่วมกัน กระตุ้นคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรให้ทำงานร่วมกันในรูปเครือข่าย

¨     พัฒนาให้สภากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบลต้นแบบเป็นตัวอย่างให้แก่สภากลุ่มฯ อื่นดำเนินกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสภากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบล

¨     เพื่อพัฒนาสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนให้มีความรู้ด้านเคหกิจเกษตร และสามารถปรับปรุงสุขภาพอนามัยของเด็กนักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

 

เป้าหมาย

      1.  คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับอำเภอ 8 อำเภอ ๆ ละ 5 คน รวม 40 คน

      2.  สภากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบลต้นแบบ 5 สภา (เกษตรกร 20 คน/สภา) จำนวน 100 คน

      3.  จำนวน 2 โรงเรียน ๆ ละ 15 ราย รวม 30 ราย

 

สถานที่ดำเนินการ

¨     สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี

¨     อ.เขาย้อย อ.หนองหญ้าปล้อง อ.ท่ายาง อ.บ้านแหลม อ.เมืองเพชรบุรี

¨     หมู่ 9 ต.ป่าเด็ง อ.แก่งกระจาน หมู่ 2 ต.ห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน

 

วิธีดำเนินงาน

1.      จัดประชุมเชิงวิชาการคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับจังหวัด เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการ      กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับอำเภอ / จังหวัดชุดใหม่

2.      คัดเลือกสภากลุ่มฯ ที่มีจำนวนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 3 กลุ่ม  และสามารถเป็นต้นแบบได้ โดยการจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในตำบล จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี สภากลุ่มฯ ขยายฐานสมาชิก จัดกิจกรรมเครือข่ายของกลุ่ม จัดการถ่ายทอดและเผยแพร่วิชาการความรู้ให้ตรงกับความต้องการของสมาชิกสภาฯ ประชุมคณะกรรมการสภากลุ่มฯ ไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง เผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานของสภากลุ่มฯ

3.      จัดตั้งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนละ 1 กลุ่ม จัดเวทีชุมชน ผลิตสื่อการสอน นำสื่อการสอนไปใช้ประกอบการถ่ายทอดความรู้ ร่วมทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาสุขภาพของเด็กนักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

 

ผลสัมฤทธิ์

1.      คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับอำเภอ สามารถนำความรู้และแนวทางการดำเนินงานในเรื่องต่างๆ ไปปฏิบัติได้ร้อยละ 60

2.      คณะกรรมการสภากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสามารถขยายความรู้ฯ เรื่องการบริหารจัดการ จัดทำฐานข้อมูล และความรู้ด้านเคหกิจเกษตร ฯลฯ ไปปฏิบัติได้ร้อยละ 60

3.      แม่บ้านเกษตรกรมีความรู้และทักษะในการแปรรูป-ถนอมอาหาร และการผลิตอาหารและการปรุงอาหาร ที่ถูกสุขลักษณะมีคุณค่าแก่เด็กนักเรียน และสามารถปฏิบัติได้ร้อยละ 60